STRATEGIC MANAGEMENT

กำหนดการรายงานข้อมูลยุทธศาสตร์ส่วนงาน ปีงบประมาณ 2567 ผ่านระบบ CU-iDMS/ST

ส่วนงาน

กิจกรรม ไตรมาสที่ 1
(ต.ค. 66 – ธ.ค. 66)
ไตรมาสที่ 2
(ม.ค. – มี.ค. 67)
ไตรมาสที่ 3
(เม.ย. – มิ.ย. 67)
ไตรมาสที่ 4
(ก.ค. – ก.ย. 67)
รายงานข้อมูล 27 ก.พ. – 6 มี.ค. 67 22 – 30 เม.ย. 67 1 – 10 ก.ค. 67 1 – 9 ต.ค. 67
ตรวจสอบ 7 – 12 มี.ค. 67 1 – 6 พ.ค. 67 11 – 16 ก.ค. 67 10 – 16 ต.ค. 67
แก้ไขข้อมูล  13 – 20 มี.ค. 67  7 – 13 พ.ค. 67  17 – 24 ก.ค. 67  17 – 24 ต.ค. 67
ประมวลผลข้อมูล  27 – 29 มี.ค. 67  18 – 23 พ.ค. 67  1 – 5 ส.ค. 67  1 – 5 พ.ย. 67

หน่วยงานเจ้าภาพ

กิจกรรม ไตรมาสที่ 1
(ต.ค. 66 – ธ.ค. 66)
ไตรมาสที่ 2
(ม.ค. – มี.ค. 67)
ไตรมาสที่ 3
(เม.ย. – มิ.ย. 67)
ไตรมาสที่ 4
(ก.ค. – ก.ย. 67)
รายงานข้อมูล 27 ก.พ. – 6 มี.ค. 67 22 – 30 เม.ย. 67 1 – 10 ก.ค. 67 1 – 9 ต.ค. 67
ตรวจสอบ 7 – 12 มี.ค. 67 1 – 6 พ.ค. 67 11 – 16 ก.ค. 67 10 – 16 ต.ค. 67
ยืนยันข้อมูล  21 – 26 มี.ค. 67  14 – 17 พ.ค. 67  25 – 31 ก.ค. 67  25 – 31 ต.ค. 67
ประมวลผลข้อมูล  27 – 29 มี.ค. 67  18 – 23 พ.ค. 67  1 – 5 ส.ค. 67  1 – 5 พ.ย. 67

 

บริหารคุณภาพองค์กร

ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลา
1. รายงาน CDS รอบปีปฏิทิน 2566
บันทึกค่าข้อมูล CDS (หน่วยงานเจ้าภาพ/ส่วนงาน) 19 ก.พ. – 8 มี.ค. 67
ตรวจ/แก้ไข/ยืนยัน (หน่วยงานเจ้าภาพ/ส่วนงาน) 11 – 29 มี.ค. 67
สอบทานโดยหน่วยงานเจ้าภาพ 1 เม.ย. – 19 เม.ย. 67
ตรวจสอบและปิดฐานข้อมูลระบบ CU-iDMS ด้านการบริหารจัดการคุณภาพรอบปีปฏิทิน 22 – 30 เม.ย. 67
2. รายงาน CDS รอบปีงบประมาณ 2566 และปีการศึกษา 2565
บันทึกค่าข้อมูล CDS (หน่วยงานเจ้าภาพ/ส่วนงาน) 1 ก.ค. – 9 ส.ค. 67
ตรวจ/แก้ไข/ยืนยัน (หน่วยงานเจ้าภาพ/ส่วนงาน) 13 – 30 ส.ค. 67
สอบทานโดยหน่วยงานเจ้าภาพ 2 – 13 ก.ย. 67
ตรวจสอบและปิดฐานข้อมูลระบบ CU-iDMS ด้านการบริหารจัดการคุณภาพรอบปีงบประมาณและรอบปีการศึกษา 16 – 27 ก.ย. 67
3. การดำเนินการและการจัดทำรายงานการประกันคุณภาพการศึกษา
ส่วนงานดำเนินการพัฒนาส่วนงานตามเกณฑ์มาตรฐานสากลที่เลือกใช้ และเข้าร่วมอบรม/เสวนา/ประชุม w/s ตามกรอบแนวทางที่มหาวิทยาลัยสนับสนุน ก.พ. – ก.ย. 67
ส่งรายงานการประกันคุณภาพการศึกษาตามระบบที่เลือกใช้ให้มหาวิทยาลัย ในรูปแบบไฟล์ Word และ PDF ผ่านระบบ Lesspaper ภายใน 2 ธ.ค. 67
4. การดำเนินการบันทึกข้อมูลในระบบ CHE QA Online
ฝ่ายวินิจฉัยองค์กรและพัฒนาระบบงาน Export ข้อมูลจากระบบ CU-iDMS เข้าระบบ CHE QA Online และตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูล 9 – 13 ธ.ค. 67
ส่วนงานมาดำเนินการบันทึก/ยืนยัน/ตรวจสอบข้อมูลในระบบ CHE QA Online 18 – 20 ธ.ค. 67
ฝ่ายวินิจฉัยองค์กรและพัฒนาระบบงาน ตรวจสอบข้อมูลของส่วนงานและมหาวิทยาลัยในระบบ CHE QA Online ในภาพรวมทั้งหมดให้มีความสมบูรณ์ 23 – 27 ธ.ค. 67
มหาวิทยาลัยกดส่งข้อมูลให้ สป.อว. ภายใน ก.พ. 68

พัฒนาระบบงาน

ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลา
1. รายงาน CDS รอบปีปฏิทิน 2566
บันทึกค่าข้อมูล CDS (หน่วยงานเจ้าภาพ/ส่วนงาน) 19 ก.พ. – 8 มี.ค. 67
ตรวจ/แก้ไข/ยืนยัน (หน่วยงานเจ้าภาพ/ส่วนงาน) 11 – 29 มี.ค. 67
สอบทานโดยหน่วยงานเจ้าภาพ 1 เม.ย. – 19 เม.ย. 67
ตรวจสอบและปิดฐานข้อมูลระบบ CU-iDMS ด้านการบริหารจัดการคุณภาพรอบปีปฏิทิน 22 – 30 เม.ย. 67
2. รายงาน CDS รอบปีงบประมาณ 2566 และปีการศึกษา 2565
บันทึกค่าข้อมูล CDS (หน่วยงานเจ้าภาพ/ส่วนงาน) 1 ก.ค. – 9 ส.ค. 67
ตรวจ/แก้ไข/ยืนยัน (หน่วยงานเจ้าภาพ/ส่วนงาน) 13 – 30 ส.ค. 67
สอบทานโดยหน่วยงานเจ้าภาพ 2 – 13 ก.ย. 67
ตรวจสอบและปิดฐานข้อมูลระบบ CU-iDMS ด้านการบริหารจัดการคุณภาพรอบปีงบประมาณและรอบปีการศึกษา 16 – 27 ก.ย. 67
3. การดำเนินการและการจัดทำรายงานการประกันคุณภาพการศึกษา
ส่วนงานดำเนินการพัฒนาส่วนงานตามเกณฑ์มาตรฐานสากลที่เลือกใช้ และเข้าร่วมอบรม/เสวนา/ประชุม w/s ตามกรอบแนวทางที่มหาวิทยาลัยสนับสนุน ก.พ. – ก.ย. 67
ส่งรายงานการประกันคุณภาพการศึกษาตามระบบที่เลือกใช้ให้มหาวิทยาลัย ในรูปแบบไฟล์ Word และ PDF ผ่านระบบ Lesspaper ภายใน 2 ธ.ค. 67
4. การดำเนินการบันทึกข้อมูลในระบบ CHE QA Online
ฝ่ายวินิจฉัยองค์กรและพัฒนาระบบงาน Export ข้อมูลจากระบบ CU-iDMS เข้าระบบ CHE QA Online และตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูล 9 – 13 ธ.ค. 67
ส่วนงานมาดำเนินการบันทึก/ยืนยัน/ตรวจสอบข้อมูลในระบบ CHE QA Online 18 – 20 ธ.ค. 67
ฝ่ายวินิจฉัยองค์กรและพัฒนาระบบงาน ตรวจสอบข้อมูลของส่วนงานและมหาวิทยาลัยในระบบ CHE QA Online ในภาพรวมทั้งหมดให้มีความสมบูรณ์ 23 – 27 ธ.ค. 67
มหาวิทยาลัยกดส่งข้อมูลให้ สป.อว. ภายใน ก.พ. 68

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก

ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลา
1. รายงาน CDS รอบปีปฏิทิน 2566
บันทึกค่าข้อมูล CDS (หน่วยงานเจ้าภาพ/ส่วนงาน) 19 ก.พ. – 8 มี.ค. 67
ตรวจ/แก้ไข/ยืนยัน (หน่วยงานเจ้าภาพ/ส่วนงาน) 11 – 29 มี.ค. 67
สอบทานโดยหน่วยงานเจ้าภาพ 1 เม.ย. – 19 เม.ย. 67
ตรวจสอบและปิดฐานข้อมูลระบบ CU-iDMS ด้านการบริหารจัดการคุณภาพรอบปีปฏิทิน 22 – 30 เม.ย. 67
2. รายงาน CDS รอบปีงบประมาณ 2566 และปีการศึกษา 2565
บันทึกค่าข้อมูล CDS (หน่วยงานเจ้าภาพ/ส่วนงาน) 1 ก.ค. – 9 ส.ค. 67
ตรวจ/แก้ไข/ยืนยัน (หน่วยงานเจ้าภาพ/ส่วนงาน) 13 – 30 ส.ค. 67
สอบทานโดยหน่วยงานเจ้าภาพ 2 – 13 ก.ย. 67
ตรวจสอบและปิดฐานข้อมูลระบบ CU-iDMS ด้านการบริหารจัดการคุณภาพรอบปีงบประมาณและรอบปีการศึกษา 16 – 27 ก.ย. 67
3. การดำเนินการและการจัดทำรายงานการประกันคุณภาพการศึกษา
ส่วนงานดำเนินการพัฒนาส่วนงานตามเกณฑ์มาตรฐานสากลที่เลือกใช้ และเข้าร่วมอบรม/เสวนา/ประชุม w/s ตามกรอบแนวทางที่มหาวิทยาลัยสนับสนุน ก.พ. – ก.ย. 67
ส่งรายงานการประกันคุณภาพการศึกษาตามระบบที่เลือกใช้ให้มหาวิทยาลัย ในรูปแบบไฟล์ Word และ PDF ผ่านระบบ Lesspaper ภายใน 2 ธ.ค. 67
4. การดำเนินการบันทึกข้อมูลในระบบ CHE QA Online
ฝ่ายวินิจฉัยองค์กรและพัฒนาระบบงาน Export ข้อมูลจากระบบ CU-iDMS เข้าระบบ CHE QA Online และตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูล 9 – 13 ธ.ค. 67
ส่วนงานมาดำเนินการบันทึก/ยืนยัน/ตรวจสอบข้อมูลในระบบ CHE QA Online 18 – 20 ธ.ค. 67
ฝ่ายวินิจฉัยองค์กรและพัฒนาระบบงาน ตรวจสอบข้อมูลของส่วนงานและมหาวิทยาลัยในระบบ CHE QA Online ในภาพรวมทั้งหมดให้มีความสมบูรณ์ 23 – 27 ธ.ค. 67
มหาวิทยาลัยกดส่งข้อมูลให้ สป.อว. ภายใน ก.พ. 68

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ขั้นตอนการดำเนินงาน ระยะเวลา
1. รายงาน CDS รอบปีปฏิทิน 2566
บันทึกค่าข้อมูล CDS (หน่วยงานเจ้าภาพ/ส่วนงาน) 19 ก.พ. – 8 มี.ค. 67
ตรวจ/แก้ไข/ยืนยัน (หน่วยงานเจ้าภาพ/ส่วนงาน) 11 – 29 มี.ค. 67
สอบทานโดยหน่วยงานเจ้าภาพ 1 เม.ย. – 19 เม.ย. 67
ตรวจสอบและปิดฐานข้อมูลระบบ CU-iDMS ด้านการบริหารจัดการคุณภาพรอบปีปฏิทิน 22 – 30 เม.ย. 67
2. รายงาน CDS รอบปีงบประมาณ 2566 และปีการศึกษา 2565
บันทึกค่าข้อมูล CDS (หน่วยงานเจ้าภาพ/ส่วนงาน) 1 ก.ค. – 9 ส.ค. 67
ตรวจ/แก้ไข/ยืนยัน (หน่วยงานเจ้าภาพ/ส่วนงาน) 13 – 30 ส.ค. 67
สอบทานโดยหน่วยงานเจ้าภาพ 2 – 13 ก.ย. 67
ตรวจสอบและปิดฐานข้อมูลระบบ CU-iDMS ด้านการบริหารจัดการคุณภาพรอบปีงบประมาณและรอบปีการศึกษา 16 – 27 ก.ย. 67
3. การดำเนินการและการจัดทำรายงานการประกันคุณภาพการศึกษา
ส่วนงานดำเนินการพัฒนาส่วนงานตามเกณฑ์มาตรฐานสากลที่เลือกใช้ และเข้าร่วมอบรม/เสวนา/ประชุม w/s ตามกรอบแนวทางที่มหาวิทยาลัยสนับสนุน ก.พ. – ก.ย. 67
ส่งรายงานการประกันคุณภาพการศึกษาตามระบบที่เลือกใช้ให้มหาวิทยาลัย ในรูปแบบไฟล์ Word และ PDF ผ่านระบบ Lesspaper ภายใน 2 ธ.ค. 67
4. การดำเนินการบันทึกข้อมูลในระบบ CHE QA Online
ฝ่ายวินิจฉัยองค์กรและพัฒนาระบบงาน Export ข้อมูลจากระบบ CU-iDMS เข้าระบบ CHE QA Online และตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูล 9 – 13 ธ.ค. 67
ส่วนงานมาดำเนินการบันทึก/ยืนยัน/ตรวจสอบข้อมูลในระบบ CHE QA Online 18 – 20 ธ.ค. 67
ฝ่ายวินิจฉัยองค์กรและพัฒนาระบบงาน ตรวจสอบข้อมูลของส่วนงานและมหาวิทยาลัยในระบบ CHE QA Online ในภาพรวมทั้งหมดให้มีความสมบูรณ์ 23 – 27 ธ.ค. 67
มหาวิทยาลัยกดส่งข้อมูลให้ สป.อว. ภายใน ก.พ. 68

รู้จักกับบริหารคุณภาพองค์กร

พัฒนาการของระบบประกันคุณภาพ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาและมุ่งดำเนินการให้ประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากอดีตมาจนถึงปัจจุบันสามารถสรุปได้ ดังนี้

  • พ.ศ. 2537 ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ปราณี กุลละวณิชย์ ได้ริเริ่มในส่วนของการประเมินผลการเรียนการสอน
  • พ.ศ. 2540 พัฒนาการประเมินผลการเรียนการสอนเป็นระบบประกันคุณภาพทางวิชาการ
  • พ.ศ. 2543 มหาวิทยาลัยมีนโยบายขยายระบบประกันคุณภาพให้ครอบคลุมมากขึ้น  จากประกันคุณภาพทางวิชาการสู่การประกันคุณภาพทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัย จึงพัฒนาระบบประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยขึ้นมา
  • พ.ศ. 2544 เริ่มใช้งานระบบประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย “มาตรฐานระบบประกันคุณภาพของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ CU-QA 84 Standard”

หลังจากนั้น มหาวิทยาลัยได้พัฒนาด้านประกันคุณภาพอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ดังนี้

ระยะที่ 1 การประกันคุณภาพระบบ (Quality of System) (พ.ศ. 2544 – 2547)

จุฬาฯ ได้กำหนดมาตรฐานประกันคุณภาพ CU-QA 84 ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดระบบวางระเบียบในการประกันคุณภาพของจุฬาฯ ให้มีเอกภาพระหว่างหน่วยงาน และเพื่อให้สอดคล้องกับลักษณะงานของหน่วยงานในมหาวิทยาลัยจึงจำแนกเป็น 4 มาตรฐาน ดังนี้

  1. CU-QA 84.1 มาตรฐานประกันคุณภาพสำหรับหน่วยงานด้านการเรียนการสอน         
  2. CU-QA 84.2 มาตรฐานประกันคุณภาพสำหรับหน่วยงานด้านการวิจัย
  3. CU-QA 84.3 มาตรฐานประกันคุณภาพสำหรับหน่วยงานด้านการบริหารและสนับสนุน
  4. CU-QA 84.4 มาตรฐานประกันคุณภาพสำหรับหน่วยงานด้านบริการวิชาการ

ระยะที่ 2 การประกันคุณภาพเนื้อหา (Quality of Content) (พ.ศ. 2548 – 2557)

ภาพแสดงการประกันคุณภาพตามพันธกิจด้านต่างๆ

หลังจากที่การประกันคุณภาพเชิงระบบ (CU-QA 84) ดำเนินการมาได้ระยะหนึ่ง เพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่า ระบบประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยยังคงมีการดำเนินการอยู่อย่างมั่นคง สม่ำเสมอ และต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยจึงได้มีการพัฒนากลไกในการควบคุม กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินขึ้นในรูปแบบต่างๆ จำแนกได้ ดังนี้

  1. CU-CQA (Curriculum Quality Assurance) : การประกันคุณภาพหลักสูตร การเรียนการสอน และบัณฑิต
  2. CU-RQA (Research Quality Assurance) : การประกันคุณภาพกระบวนการวิจัย และงานวิจัย
  3. CU-SaQA (Academic Service Quality Assurance) : การประกันคุณภาพการบริการวิชาการ
  4. CU-SsQA (Service & Supporting Quality Assurance) : การประกันคุณภาพการบริการและสนับสนุน
ภาพแสดงระบบประกันคุณภาพจุฬาฯ (พ.ศ. 2548 – 2557)

เมื่อสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้พัฒนากระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาภายในขึ้นและส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษานำไปใช้เป็นแนวทางในการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 เป็นต้นไป ดังนั้นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้มีการปรับเปลี่ยนที่สำคัญเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป 2 ประการ ดังนี้

  1. พัฒนาระบบประเมินผลปฏิบัติงานตามตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย
  2. เกิดหน่วยงานใหม่ที่ชื่อว่า ศูนย์บริหารความเสี่ยง รับผิดชอบดูแลเรื่องการบริหารความเสี่ยงทั้งในระดับมหาวิทยาลัยและส่วนงาน และใช้ระบบประกันคุณภาพตามแนวทางของ สกอ. ซึ่งเป็นระบบขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย

ระยะที่ 3 การบริหารคุณภาพ (Quality of Enterprise Management) (พ.ศ. 2558 – ปัจจุบัน)

ตามประกาศคณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา (คปภ.) เรื่องหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557 กำหนดให้สถานศึกษาระดับอุดมศึกษาต้องจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร คณะ และสถาบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีการพัฒนาระบบประกันคุณภาพหลักสูตร (CU-CQA100) เพื่อใช้ประเมินในระดับหลักสูตร สำหรับในระดับส่วนงานส่วนใหญ่ใช้เกณฑ์การประเมินตามระบบของ สกอ. (เดิม) และมหาวิทยาลัยยังได้สนับสนุนส่วนงานที่มีความพร้อมให้นำเกณฑ์มาตรฐานอื่นมาใช้ประเมินระดับส่วนงานแทนระบบของ สกอ. (เดิม) อีกด้วย

ทั้งนี้ ในส่วนของการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับมหาวิทยาลัย ได้มีการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้นมาใช้แทนระบบของ สกอ. (เดิม) โดยเริ่มใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 เป็นต้นไป ซึ่งสอดคล้องกับกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561

ปัจจุบันการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการดำเนินการ 3 ระดับ ดังนี้

ระดับมหาวิทยาลัย

จากวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยและจากสภาพการแข่งขันที่รุนแรงของสถาบันอุดมศึกษาทั้งภายในและต่างประเทศที่ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสเลือกได้มากขึ้น ประกอบกับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2559 ให้มหาวิทยาลัยพิจารณาใช้ระบบหรือเกณฑ์ในระดับสากล โดยระดับมหาวิทยาลัยเน้นการดำเนินการให้มีผลสัมฤทธิ์ตามตัวชี้วัดที่ใช้ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัย อีกทั้งกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561 ข้อ 3 ได้กำหนดไว้ว่า “ให้สถาบันการศึกษาแต่ละแห่งจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาแต่ละระดับและประเภทการศึกษา…” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้ดำเนินการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย โดยสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 816 เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2561 มีมติเห็นชอบระบบประกันคุณภาพการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (QCU101) และให้นำไปใช้แทนการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในตามเกณฑ์มาตรฐานของ สกอ. (เดิม) ระดับมหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปีการศึกษา 2560

ระดับส่วนงาน

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เปิดโอกาสให้ส่วนงานสามารถเลือกใช้ระบบของ สกอ.(เดิม) หรือระบบอื่นซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ของ สกอ. ทั้งนี้ ในปีการศึกษา 2561 มี 9 ส่วนงาน จากจำนวนทั้งสิ้น 35 ส่วนงาน ที่เลือกใช้เกณฑ์มาตรฐานสากล ได้แก่

  • เกณฑ์ EdPEx จำนวน 7 ส่วนงาน ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะสหเวชศาสตร์
  • เกณฑ์ AACSB, EQUIS จำนวน 2 ส่วนงาน ได้แก่ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาฯ

ระดับหลักสูตร

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้พัฒนาให้มี “ระบบประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” (CU-CQA100) พร้อมทั้งพัฒนาระบบให้เป็นแบบ Online ด้วย สำหรับการตรวจประเมินคุณภาพหลักสูตรได้ตรวจประเมินตัวบ่งชี้การบริหารจัดการหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดโดย สกอ. (เดิม) ทั้งนี้ สำหรับกรณีที่หลักสูตรต้องการยกระดับมาตรฐานนานาชาติก็สามารถประเมินคุณภาพของหลักสูตรโดยใช้ระบบอื่นเช่น AUN-QA, AACSB, EPAS, EQUIS หรือตามมาตรฐานวิชาชีพอื่น ๆ  โดยมีสำนักบริหารวิชาการเป็นผู้กำกับดูแล